วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

BBC Thai วันสุดท้าย

วันนี้เป็นวันที่ bbc thai ต้องทำการปิดตัวลงอย่างถาวร เนื่องจาก ทาง BBC ต้องการยุบรายการบางภาษาเพื่อไป support รายการทางดาวเทียมแทน





เช้าสุดท้ายจากบีบีซี



คุณอรรถพล วรรณุรักษ์ พร้อมกับผู้ประกาศบีบีซีในยุคแรกๆ รวมทั้งอาจารย์เสนาะ ตันบุญยืน

ขอคำนับกราบลาคราสุดท้ายขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่เกื้อหนุนขอคารวะมิตรแท้ผู้การุณขอจดจำบุญคุณตลอดไปผิดพลาดประการใดอภัยเถิดเขาให้เกิดให้ดับได้เมื่อถึงที่สิ้นสายป่านจึงสิ้นเสียงเพียงเท่านี้ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านเทอญ

กลอนอำลาผู้ฟังจากคุณอรรถพล วรรณนุรักษ์ อดีตหัวหน้าแผนกไทย

เบื้องหลังการทำงาน

การหาข่าว ทำข่าวของบีบีซี ในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นที่กลั่นกรองมานำเสนอคุณผู้ฟังผ่านขั้นตอน กระบวนการ ที่บางครั้งก็สาหัสเอาเรื่อง

นวลน้อย ธรรมเสถียร บอกว่าการทำงานข่าวของทีมบีบีซีไทยเริ่มต้นกันในยุคจูดี้ สโตว์ เป็นหัวหน้าแผนกเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว

“ เธอ (จูดี้ สโตว์) พยายามหาคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานข่าวเข้าไปเสริมทีม เข้าใจว่ามีวิสัยทัศน์นี้มาจากการเป็นคนทำข่าวและเขียนบทวิเคราะห์มาก่อน”

หลายคนที่เคยเป็นนักข่าวเก่าจึงตบเท้าเข้ามากันตั้งแต่บัดนั้น แล้วก็มาในจังหวะเหมาะ อย่างคุณรุ่งมณี เมฆโสภณ ซึ่งช่วยได้มาก อย่างน้อยที่สุดทำให้เราได้ข่าวพลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออกจากนายกรัฐมนตรีก่อนใคร

นวลน้อย ธรรมเสถียร ผู้สื่อข่าวของแผนกภาษาไทยคนแรก ที่ไปประจำที่เมืองไทย

เราก็ใช้เวลาไม่น้อยในอันที่จะทำให้ห้องข่าวบีบีซียอมรับ แต่เมื่อได้รับการยอมรับ บีบีซีก็ปล่อยให้เราทำข่าวกันเอง อาจจะพูดได้ว่าระยะหลัง บีบีซีไทยมีบทบาทช่วยเสริมการทำข่าวส่วนที่เกี่ยวกับเมืองไทยให้ทีมข่าวบีบีซีส่วนอื่นๆด้วย ในทางกลับกันบรรยากาศนี้เปิดโอกาสให้ทีมงานได้พัฒนาศักยภาพ

แต่ข้อจำกัดก็มาก เพราะเมืองไทยมีสื่อหลากหลาย แต่ละแห่งมีกองทัพนักข่าวแต่บีบีซีไทยมีนักข่าวในเมืองไทยแค่คนเดียว แล้วจะทำงานยังไง นี่เป็นคำถามแรกของเราตอนที่มีผู้ผลิตรายการมาประจำที่เมืองไทยหนแรก

เราก็ต้องเลือกข่าว แต่จะเลือกข่าวได้ต้องรู้ว่ามีข่าวอะไรในแต่ละวัน

คนทั่วไปถ้าไม่อยู่ในองค์กรข่าวไม่มีหูมีตาก็จะมืดบอดในจุดนี้ เราต้องติดตามว่าสื่อไทยรายงานอะไรกันแต่ละวัน และที่สำคัญกว่าคืออะไรที่เขาไม่ได้รายงาน

ส่วนปัญหาว่าเราเลือกข่าวกันอย่างไรคงไม่ได้ต้องเข้าไปในรายละเอียด เอาเป็นว่าเลือกข่าวที่มีผลกระทบสูง ข่าวที่เกี่ยวพันความสัมพันธ์ไทยกับประเทศอื่น เป็นหลักการหยาบที่สุดเท่าที่จะอธิบายได้

แต่แม้จะวิ่งแค่ไม่กี่ข่าวก็ยังลำบาก เพราะแต่ละข่าวก็ยังมีสื่อมากมายก่ายกองรายงานข่าวเดียวกัน ขณะที่บีบีซีก็มีหลักการมากมายที่เราต้องทำตาม

ตามล่าหาแหล่งข่าว

โทรศัพท์เป็นเครื่อวมือสำคัญในการตามล่าหาแหล่งข่าว

คุณนวลน้อยเชื่อว่าจุดเด่นอย่างหนึ่งของเราคือ เราไม่มีข้อจำกัดในการติดตามข่าวแบบที่นักข่าวไทยเจอ เราสามารถตามข่าวไปได้เท่าที่สายโทรศัพท์จะเอื้ออำนวยก็ว่าได้ เช่นเมื่อมีข่าวนักวิจัยอเมริกันอาจจะโขมยพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย เราก็ตามไปถึงอเมริกา พอยูเอ็นประนามนักธุรกิจไทยที่ไปคองโกเราก็โทรศัพท์ตามไปถึงคองโก

ระยะหลังนอกจากโทรศัพท์แล้วเรายังมีอินเตอร์เน็ตที่มาช่วยติดเขี้ยวเล็บให้กับการทำข่าวทำให้เราตามหาตัวใครต่อใครได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ในเวลาที่สื่อในประเทศถูกปิดกั้นบีบีซีก็พอจะช่วยได้ อย่างกรณีพฤษภาทมิฬเป็นที่มาของการที่หลายคนมองว่าบีบีซีได้เปรียบเพราะอยู่ไกลรัศมีอำมหิตของการเมือง ความจริงไม่ใช่เสียทีเดียว

" บีบีซีเองก็อยู่ภายใต้แรงกดดันเช่นการทำข่าวภาคใต้ เราก็เจอในหลายๆรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่สนุกๆทั้งสิ้น " นวลน้อยกล่าว

ประสบการณ์จาก "ศูนย์ราม"

เจ้าหน้าที่ของบีบีซีที่ศูนย์รามฯ ศรีสุดา ศรีหล้า สมอุษา บัวพันธ์ อาจารย์จเลิศ เจษฎาวัลย์ และสุขเดช บุนนท์

ศูนย์ประสานงานวิทยุบีบีซี ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นส่วนหนึ่งที่คอยรวบรวมข้อมูล ติดต่อนัดสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ให้กับการทำงานที่ลอนดอนสะดวกขึ้น

บีบีซีปิดศูนย์ประสานงานฯก็ต้องปิดตัวลงไปด้วย

แต่ละปีก็จะมีน้องๆนักศึกษาผ่านเข้ามาฝึกงานที่นี่กัน แล้วคนที่เคยผ่านการฝึกงานจากศูนย์นี้มาได้อะไรไปมากน้อยแค่ไหน

สมอุษา บัวพันธ์ ผู้สื่อข่าวให้บีบีซีที่กรุงเทพฯ รวบรวมความรู้สึกของศิษย์เก่าศูนย์รามมานำเสนอ

เปิดกรุเสียงบีบีซี

บีบีซีพาไปย้อนเส้นทาง 64 ปีที่ผ่านมา ตอนแรก เริ่มตั้งแต่การออกอากาศวันแรก เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2484 มาจนถึงช่วงก่อนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2514

จากรายการภาคเช้าวันที่ 13 มกราคม 2548



powered by performancing firefox

ไม่มีความคิดเห็น: