วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

How nerd you are ??

My score 82







18% scored higher (more nerdy), and 82% scored lower (less nerdy).



What does this mean? Your nerdiness is:High-Level Nerd. You are definitely MIT material, apply now!!!.





I am nerdier than 82% of all people. Are you nerdier? Click here to find out!







Test how nerd you are at



here.







powered by performancing firefox

BBC Thai วันสุดท้าย

วันนี้เป็นวันที่ bbc thai ต้องทำการปิดตัวลงอย่างถาวร เนื่องจาก ทาง BBC ต้องการยุบรายการบางภาษาเพื่อไป support รายการทางดาวเทียมแทน





เช้าสุดท้ายจากบีบีซี



คุณอรรถพล วรรณุรักษ์ พร้อมกับผู้ประกาศบีบีซีในยุคแรกๆ รวมทั้งอาจารย์เสนาะ ตันบุญยืน

ขอคำนับกราบลาคราสุดท้ายขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่เกื้อหนุนขอคารวะมิตรแท้ผู้การุณขอจดจำบุญคุณตลอดไปผิดพลาดประการใดอภัยเถิดเขาให้เกิดให้ดับได้เมื่อถึงที่สิ้นสายป่านจึงสิ้นเสียงเพียงเท่านี้ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านเทอญ

กลอนอำลาผู้ฟังจากคุณอรรถพล วรรณนุรักษ์ อดีตหัวหน้าแผนกไทย

เบื้องหลังการทำงาน

การหาข่าว ทำข่าวของบีบีซี ในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นที่กลั่นกรองมานำเสนอคุณผู้ฟังผ่านขั้นตอน กระบวนการ ที่บางครั้งก็สาหัสเอาเรื่อง

นวลน้อย ธรรมเสถียร บอกว่าการทำงานข่าวของทีมบีบีซีไทยเริ่มต้นกันในยุคจูดี้ สโตว์ เป็นหัวหน้าแผนกเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว

“ เธอ (จูดี้ สโตว์) พยายามหาคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานข่าวเข้าไปเสริมทีม เข้าใจว่ามีวิสัยทัศน์นี้มาจากการเป็นคนทำข่าวและเขียนบทวิเคราะห์มาก่อน”

หลายคนที่เคยเป็นนักข่าวเก่าจึงตบเท้าเข้ามากันตั้งแต่บัดนั้น แล้วก็มาในจังหวะเหมาะ อย่างคุณรุ่งมณี เมฆโสภณ ซึ่งช่วยได้มาก อย่างน้อยที่สุดทำให้เราได้ข่าวพลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออกจากนายกรัฐมนตรีก่อนใคร

นวลน้อย ธรรมเสถียร ผู้สื่อข่าวของแผนกภาษาไทยคนแรก ที่ไปประจำที่เมืองไทย

เราก็ใช้เวลาไม่น้อยในอันที่จะทำให้ห้องข่าวบีบีซียอมรับ แต่เมื่อได้รับการยอมรับ บีบีซีก็ปล่อยให้เราทำข่าวกันเอง อาจจะพูดได้ว่าระยะหลัง บีบีซีไทยมีบทบาทช่วยเสริมการทำข่าวส่วนที่เกี่ยวกับเมืองไทยให้ทีมข่าวบีบีซีส่วนอื่นๆด้วย ในทางกลับกันบรรยากาศนี้เปิดโอกาสให้ทีมงานได้พัฒนาศักยภาพ

แต่ข้อจำกัดก็มาก เพราะเมืองไทยมีสื่อหลากหลาย แต่ละแห่งมีกองทัพนักข่าวแต่บีบีซีไทยมีนักข่าวในเมืองไทยแค่คนเดียว แล้วจะทำงานยังไง นี่เป็นคำถามแรกของเราตอนที่มีผู้ผลิตรายการมาประจำที่เมืองไทยหนแรก

เราก็ต้องเลือกข่าว แต่จะเลือกข่าวได้ต้องรู้ว่ามีข่าวอะไรในแต่ละวัน

คนทั่วไปถ้าไม่อยู่ในองค์กรข่าวไม่มีหูมีตาก็จะมืดบอดในจุดนี้ เราต้องติดตามว่าสื่อไทยรายงานอะไรกันแต่ละวัน และที่สำคัญกว่าคืออะไรที่เขาไม่ได้รายงาน

ส่วนปัญหาว่าเราเลือกข่าวกันอย่างไรคงไม่ได้ต้องเข้าไปในรายละเอียด เอาเป็นว่าเลือกข่าวที่มีผลกระทบสูง ข่าวที่เกี่ยวพันความสัมพันธ์ไทยกับประเทศอื่น เป็นหลักการหยาบที่สุดเท่าที่จะอธิบายได้

แต่แม้จะวิ่งแค่ไม่กี่ข่าวก็ยังลำบาก เพราะแต่ละข่าวก็ยังมีสื่อมากมายก่ายกองรายงานข่าวเดียวกัน ขณะที่บีบีซีก็มีหลักการมากมายที่เราต้องทำตาม

ตามล่าหาแหล่งข่าว

โทรศัพท์เป็นเครื่อวมือสำคัญในการตามล่าหาแหล่งข่าว

คุณนวลน้อยเชื่อว่าจุดเด่นอย่างหนึ่งของเราคือ เราไม่มีข้อจำกัดในการติดตามข่าวแบบที่นักข่าวไทยเจอ เราสามารถตามข่าวไปได้เท่าที่สายโทรศัพท์จะเอื้ออำนวยก็ว่าได้ เช่นเมื่อมีข่าวนักวิจัยอเมริกันอาจจะโขมยพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย เราก็ตามไปถึงอเมริกา พอยูเอ็นประนามนักธุรกิจไทยที่ไปคองโกเราก็โทรศัพท์ตามไปถึงคองโก

ระยะหลังนอกจากโทรศัพท์แล้วเรายังมีอินเตอร์เน็ตที่มาช่วยติดเขี้ยวเล็บให้กับการทำข่าวทำให้เราตามหาตัวใครต่อใครได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ในเวลาที่สื่อในประเทศถูกปิดกั้นบีบีซีก็พอจะช่วยได้ อย่างกรณีพฤษภาทมิฬเป็นที่มาของการที่หลายคนมองว่าบีบีซีได้เปรียบเพราะอยู่ไกลรัศมีอำมหิตของการเมือง ความจริงไม่ใช่เสียทีเดียว

" บีบีซีเองก็อยู่ภายใต้แรงกดดันเช่นการทำข่าวภาคใต้ เราก็เจอในหลายๆรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่สนุกๆทั้งสิ้น " นวลน้อยกล่าว

ประสบการณ์จาก "ศูนย์ราม"

เจ้าหน้าที่ของบีบีซีที่ศูนย์รามฯ ศรีสุดา ศรีหล้า สมอุษา บัวพันธ์ อาจารย์จเลิศ เจษฎาวัลย์ และสุขเดช บุนนท์

ศูนย์ประสานงานวิทยุบีบีซี ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นส่วนหนึ่งที่คอยรวบรวมข้อมูล ติดต่อนัดสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ให้กับการทำงานที่ลอนดอนสะดวกขึ้น

บีบีซีปิดศูนย์ประสานงานฯก็ต้องปิดตัวลงไปด้วย

แต่ละปีก็จะมีน้องๆนักศึกษาผ่านเข้ามาฝึกงานที่นี่กัน แล้วคนที่เคยผ่านการฝึกงานจากศูนย์นี้มาได้อะไรไปมากน้อยแค่ไหน

สมอุษา บัวพันธ์ ผู้สื่อข่าวให้บีบีซีที่กรุงเทพฯ รวบรวมความรู้สึกของศิษย์เก่าศูนย์รามมานำเสนอ

เปิดกรุเสียงบีบีซี

บีบีซีพาไปย้อนเส้นทาง 64 ปีที่ผ่านมา ตอนแรก เริ่มตั้งแต่การออกอากาศวันแรก เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2484 มาจนถึงช่วงก่อนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2514

จากรายการภาคเช้าวันที่ 13 มกราคม 2548



powered by performancing firefox

โทรศัพท์เครื่องใหม่ (แต่รุ่นไม่ใหม่)

โทรศัพท์ที่ใช้อยู่ใกล้จะพังเต็มทีแล้วครับ เลยได้ฤกษ์ไปซื้อเครื่องใหม่ซะที เดินดูอยู่หลายเดือน พิจารณาแล้ว ก็ในที่สุดก็ตัดสินใจซื้อเครื่องนี้ครับ







Sony Ericcson T610








ที่ซื้อเนื่องจากคุ้มราคาสุดแล้วครับ มีทั้งกล้อง และ Bluetooth ในราคาไม่ถึง 8000 บาท ตอนแรกเล็งไว้อีกรุ่นคืนรุ่น T630 แต่ราคาต่างกันเกือบ 4 พัน ในที่สุดเลยตัดสินใจซื้อรุ่นนี้ แล้วเอา 4 พันไปซื้อหูฟัง Bluetooth ดีกว่า ผลก็คือได้มาสองอย่างเหมือนในรูปนี่ละครับ







ตอนแรกลองเอามาเล่น OS ถือว่าช้าทีเดียว จะทำอะไรก็ช้าไปหมด ถ้าเป็นคนใจร้อนคงไม่ทันใจหรอกครับ







หลังจากซื้อโทรศัพท์ หูฟัง ก็ไปซื้อ Bluetooth USB ไว้ Connect กับ Notebook มา แล้วก็ลองหา Software มาลงเล่นดู ก็ไปสะดุดที่ Software ที่ชื่อ floAt's Mobile Agent







เจ้า Software ตัวนี้ดูเหมือนคนเขียนจะจงใจเขียนมาให้รุ่นนี้เลยโดยเฉพาะ Feature ร้ายมาก ๆ ครับ สามารถจัดการ Feature ต่าง ๆ ของโทรศัพท์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Phonebook, Calendar, Note, Picture, Sound, File เกือบ ๆ ทั้งหมดเลยครับ นอกจากนี้เจ้าโทรศัพท์ตัวนี้ ยังสามารถ Manage Message ต่าง ๆ ของเครื่องได้ทั้งหมด ไม่ว่า รับส่ง SMS, E-Mail, MMS







แต่ที่เด็ด ๆ ที่ผมไม่เคยเจอคือ เมื่อ Connect Software ตัวนี้เข้ากับโทรศัพท์ แล้ว ยังสามารถโทรศัพท์ได้จาก Computer ที่คุณใช้อยู่ได้เลยครับ ไม่ต้องไปกดที่โทรศัพท์ หรือไปทำอะไรเลย สามารถโทร รับสายได้ เหมือน Notebook คุณเป็นโทรศัพท์ไปแทนได้เลย Oh !!








แล้วที่เด็ดสุด คือ !! มันสามารถเขียน Script แล้วเสกให้โทรศัพท์เครื่องหนึ่ง กลายเป็น Remote Control ที่สามารถคุม Application บน Notebook ได้ด้วย ไม่ว่า เปิดปิด Winamp, Media Player, WinDVD, หรือแม้กระทั่ง Control Slide สำหรับ Powerpoint อ่ะครับ !! โห ดูแล้วไม่น่าเชื่อ







ไม่คิดครับ ว่าจะมี Software รองรับการใช้งานโทรศัพท์ได้ขนาดนี้ สำหรับคนที่ซื้อรุ่นนี้ไปแล้ว ก็ใช้ให้คุ้มละกันครับ ถ้าซื้อไปแค่โทรศัพท์เข้าออกอย่างเดียว ผมว่า ไปซื้อ Nokia ตัวละ 2-3 พันใช้ก็พอแล้วล่ะครับ







ตื่นเต้น ของเล่นใหม่ อิอิ !!







powered by performancing firefox

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

“พลูโต” โดนโหวตออก ระบบสุริยะเหลือดาวเคราะห์เพียง ...

เอเจนซี/บีบีซีนิวส์/เอพี/ไอเอยู – นักดาราศาสตร์ลงมติถอด “พลูโต” ออกจากสถานภาพ “ดาวเคราะห์” และจัดชั้นให้เป็น “ดาวเคราะห์แคระ” ส่งผลให้ต้องปรับตำราดาราศาสตร์กันใหม่ทั้งโลก ต่อไปนี้ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์เพียงแค่ 8 ดวงเท่านั้น อีกทั้งยังมีการนิยามและจัดประเภทวัตถุบนท้องฟ้าใหม่ ที่ประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Union's : IAU) ซึ่งมีนักดาราศาสตร์จาก 75 ประเทศร่วมประชุมอยู่ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเชค ได้ลงมติถอดยศ “ดาวพลูโต” ออกจาก หมู่ “ดาวเคราะห์ชั้นเอก” แห่งระบบสุริยะ เมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) โดยได้ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,500 คนได้โหวตด้วยการยกบัตรสีเหลืองเพื่อแสดงความเห็นด้วยในประเด็นต่างๆ หลังจากถกถึงนิยามของดาวเคราะห์ และสถานะของ “พลูโต” กันอย่างถึงพริกถึงขิงมานานกว่าสัปดาห์ “พูลโต” ถูกค้นพบโดยไคลด์ ทอมแบจ (Clyde Tombaugh) แห่งหอดูดาวโลเวล รัฐอริโซนา (Lowell Observatory in Flagstaff, Arizona) ในปี 1930 และได้รับการพิจารณาให้เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะจักรวาล นับเป็นดาวเคราะห์ในกลุ่มที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุด แต่ตลอดเวลาก็ได้รับการถกเถียงว่าดาวดวงนี้เหมาะที่จะเป็นดาวเคราะห์หรือไม่ เพราะ “พลูโต” มีลักษณะต่างจากดาวเคราะห์อีก 8 ดวงที่อยู่ในระบบมาก ไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์และมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์อีก 8 ดวง และตั้งแต่หลังช่วงปี 1990 เป็นต้นมา นักดาราศาสตร์ก็เริ่มค้นพบวัตถุที่มีขนาดใกล้เคียงกับพลูโตที่แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) วงแหวนวัตถุน้ำแข็งบริเวณดาวเคราะห์ชั้นนอก ทำให้สถานภาพของพลูโตสั่นคลอนเข้าไปอีก ก่อนจะมีการโหวตตัดสินชะตากรรมของดาวพลูโตในครั้งนี้ นักดาราศาสตร์ที่มาร่วมประชุมตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ร่วมกันนิยามความหมายของ “ดาวเคราะห์” กันใหม่ให้ชัดเจน โดยได้ข้อสรุปว่า “ดาวเคราะห์” (planet) ต้องมีคุณสมบัติ คือ 1.เป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ตัวเองต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์ 2.มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) และ 3. มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวข้างเคียง เมื่อไอเอยูนิยามลักษณะดาวเคราะห์ออกมาเช่นนี้ก็ทำให้ “พลูโต” หลุดออกจากข่ายทันที เพราะมีวงโคจรเป็นวงรีที่ทับซ้อนกับดาวเนปจูน ส่วนดาวเคราะห์ที่เหลืออีก 8 ดวง อันได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวโลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นั้นให้ระบุลงไปด้วยว่า เป็น “ดาวเคราะห์ชั้นเอก” (classical planet) นอกจากนี้ ก็มีการนิยามประเภทของดาวขึ้นมาใหม่อีกนั่นคือ “ดาวเคราะห์แคระ” (dwarf planets) ซึ่งคล้าย กับดาวเคราะห์น้อย (minor planets) ดาวเคราะห์แคระมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับดาวเคราะห์ แต่ต่างกันตรงที่วงโคจรนั้นสามารถทับซ้อนกับดาวใกล้เคียงได้และไม่ได้เป็นจันทร์บริวารของดาวใด อีกทั้งยังมีการนิยามถึงวัตถุขนาดเล็กที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยระบุให้เป็น “วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ” (Small Solar System Bodies) ซึ่งในชั้นนี้หมายรวมถึงดาวเคราะห์น้อย (asteroids), ดาวหาง (comets), วัตถุขนาดใหญ่นอกวงโคจรของดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Objects-TNO) และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ด้วยนิยามนี้ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าคงจะมีการค้นพบดาวเคราะห์แคระเพิ่มขึ้นอีกมากมายภายในไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ ณ ปัจจุบันนับจากนี้ไปตำราวิชาดาราศาสตร์ทั้งในโรงเรียนและระดับอุดมศึกษาก็จะต้องลบชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะออกไป ส่วนพลูโตก็กลายเป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ นอกจาก สถานภาพของ “พลูโต” แล้ว ในการประชุม ไอเอยูได้สเนอญัตติที่จะเลื่อนขั้นดาวอีก 3 ดวงให้เข้าข่าย “ดาวเคราะห์” ซึ่งดาวทั้ง 3 ได้แก่ ดาวเคราะห์น้อยซีรีส (Ceres), ดวงจันทร์คารอน (Charon) จันทร์บริวารดวงใหญ่ที่สุดของพลูโตและ 2003 ยูบี313 (2003 UB313) หรือซีนา ที่มีขนาดใหญ่กว่าพลูโต แต่ที่ประชุมยังคงคัดค้าน โรบิน แคชโพล (Robin Catchpole) สถาบันดาราศาสตร์ในแคมบริดจ์ (Institute of Astronomy in Cambridge) สหราชอาณาจักร เผยความคิดส่วนตัวว่า ควรจะปล่อยพลูโตให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ เขามีโอกาสพบไคลด์ (เสียชีวิตไปเมื่อปี 1997) และรู้สึกดีที่ได้จับมือกับผู้ที่ค้นพบดาวเคราะห์ “แต่เมื่อไอเอยูนำประเด็นดาวเคราะห์ดวงใหม่หลายดวงมาเสนอ ผมก็คัดค้าน มันจะทำให้เกิดความสับสนเข้าไปอีก ทางเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้คือถ้าจะลดระดับพลูโต ก็ปล่อยให้ดาวเคราะห์หลักยังคงเป็นไปตามเดิม นับเป็นสถานการณ์ที่ดีกว่า จะเพิ่มดาวเคราะห์เข้าไปอีก” แคชโพลกล่าว ทางด้านหลุยส์ ฟรีดแมน (Louis Friedman) ผู้อำนวยการบริหารสมาคมระบบดาวเคราะห์ ในแคลิฟอร์เนีย (Planetary Society in California) แสดงความเห็นว่า การแบ่งชั้นหรือจัดลำดับดาวต่างๆ นั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทั้งพลูโตและวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะล้วนเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ มนุษย์เราต้องพยายามสำรวจและทำความเข้าใจ แต่ไม่ว่าพลูโตจะเป็นวัตถุบนท้องฟ้าประเภทไหนก็ตาม ยานอวกาศไร้มนุษย์ “นิว ฮอไรซอนส์” (New Horizons) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งกำลังเดินทางอยู่ในอวกาศมีกำหนดถึงดาวพลูโตและแถบไคเปอร์ในปี 2015 เพื่อเก็บข้อมูลอดีตดาวเคราะห์และวัตถุอื่นในระบบสุริยะ



powered by performancing firefox

Paralympic Game

ดูการถ่ายทอด Paralympic Game อยู่ มีหลาย ๆ เรื่องที่เป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนเหมือนกัน







1. มีคนพิการ 1 ใน 10 ของคนทั้งโลก และมีคนพิการ 6 ล้านคนในประเทศไทย และส่วนใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถไม่แพ้คนธรรมดาทีเดียว



2. ธงของกีฬา Olympic มีห้าสี หมายถึง ทวีปทั้งห้า แต่ Paralympic มีสามสี หมายถึง MIND BODY and SOUL ซึ่งเป็นส่วนประกอบสามสิ่งของมนุษย์ทุกคนเลยทีเดียว



3. ที่ใดจัด Olympic ที่นั้น ต้องจัด Paralympic ด้วย ในปีเดียวกัน สนามเดียวกัน ให้เท่าเทียมกัน :)











powered by performancing firefox