วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549

เตรียมตัวไปถ่ายพลุ

อ้างอิงจาก กระทู้ Pantip.com (http://www.pantip.com/cafe/camera/topic/O4437753/O4437753.html) โดยคุณเล็กครับ


ถ่ายพลุแบบสบายๆ
เ รามาเตรียมตัวกันให้พร้อมเพื่อการถ่ายพลุกันเถอะนะค รับ การถ่ายพลุนั้นจะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย(เอ๊ะยังไง ) เพียงแต่ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสักหน่อย สิ่งที่จะต้องใช้อย่างน้อยที่สุดก็คือ


1. กล้องถ่ายรูป(แหงแซะ)
2. ขาตั้งกล้อง


แต่ถ้ามีอุปกรณ์เพิ่มอีกสักหน่อยก็จะสะดวกขึ้นก็คือ
3. สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทคอนโทรล
4. ผ้าดำ
5. ไฟฉายเล็กๆ
6. พัดลมแบบใช้ถ่าน เอาไว้แก้ร้อน(แฮ่ๆ)
7. เก้าอี้พับ เผื่อถ่ายกันเป็นแถวๆ เราอยู่แถวหน้าจะได้ปรับขาเตี้ยๆหน่อยแล้วนั่งถ่ายพลุเลย สบาย อิอิ


การเตรียมตัวก่อนเริ่มถ่าย

1. ปรับWhite balance ให้เป็นแบบ Daylight ก่อน หรือจะเปลี่ยนเป็นแบบอื่นๆก็ได้ แต่จะให้สีของพลุและสีของสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกับที่ตาเห็นนักนะครับ


2. ปรับเลนส์ไปที่ระยะInfinity(โดยมองในช่องมองให้ภาพชัดด้วยนะครับ) และปิดระบบหาโฟกัสอัตโนมัติของกล้อง เพราะคุณคงไม่อยากให้กล้องเสียเวลาไปโฟกัสพลุทุกครั้งแน่นอนใช่ไหมครับ


3. ปรับค่าISOให้อยู่ที่ค่าต่ำๆหน่อย อย่าใช้ที่ISOสูงๆหรือใช้ฟิล์มความไวแสงสูงๆครับ เพราะเกรนและนอยซ์จะมาเยี่ยมเยือนเอาง่ายๆ


4. ตั้งระบบการเปิดรับแสงไปที่Manual(ถ้ามี) ครับ


5. ถ้ากล้องที่เราใช้มีระบบNR จะเปิดไว้ก็ได้นะครับ แต่ต้องระวังนิดหนึ่งเพราะระบบNR จะเพิ่มเวลาในการเขียนไฟล์มากกว่าปกติ อาจจะเจอปัญหาเรื่องdelayเวลาถ่ายต่อเนื่องมากๆได้นะครับ ถ้ากล้องที่ใช้เป็นกล้องที่Noiseต่ำๆนี่ ปิดได้ครับ(ผมก็ปิด อิอิ)


6. ยึดกล้องเข้ากับขาตั้งกล้องให้แข็งแรงแน่นหนา และเล็งจัดระดับกล้องให้ตรง(ถ้าขาตั้งใครมีระดับน้ำได้จะวิเศษมาก) ไม่งั้นรูปที่ออกมาเส้นขอบฟ้าเอียงเท่ากันหมดทุกรูป ต้องมานั่งCropภาพกันให้วุ่นวายอีก


7.เสียบสายลั่นชัตเตอร์(ถ้ามี) หรือปรับกล้องไปที่remote control ไม่งั้นเวลาพลุมา กดรีโมทเท่าไหร่ๆก็ไม่ถ่ายซักที เอิ๊ก


การวัดแสง

การถ่ายภาพพลุนั้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพพลุอย่างเดียวโดยไม่มีอย่างอื่นมาปะปนด้วย ให้จำไว้ว่า ขนาดของช่องรับแสงจะเป็นตัวกำหนดความสว่างและเส้นของพลุ ความไวชัตเตอร์จะเป็นตัวกำหนดความสั้นยาวของพลุ ถ้าใช้ช่องรับแสงกว้างๆ พลุที่ได้จะเส้นใหญ่ สว่าง สีซีดและไม่คมนัก แต่ถ้าใช้ช่องรับแสงแคบๆ พลุที่ได้จะเส้นเล็ก คม สีเข้มแต่ไม่สว่างเท่าไหร่


โดยทั่วๆไปแล้ว สำหรับISO 100 ให้เลือกที่5.6หรือ8ครับ จะเห็นว่าไม่ต้องวัดแสงเลย พลุมาปุ๊บกดชัตเตอร์Bปั๊บ พอพลุหมดแสงก็ปลดชัตเตอร์เท่านั้นเอง ง่ายๆ ถ้าอยากให้พลุเส้นยาวๆก็กดชัตเตอร์นานหน่อยตั้งแต่พลุดอกนั้นเริ่มยิง(เห็นเ ส้นลอยขึ้นไปในอากาศก่อนแตกตัว) รอจนแตกตัวหมดแล้วก็ปลดชัตเตอร์ หรือจะกดช่วงสั้นๆเพื่อให้เส้นไม่ยาวมากก็ได้ครับ ตามใจเราเลยอันนี้


แ ต่ถ้าเราต้องการถ่ายพลุร่วมกับสถานที่ด้วย คราวนี้ต้องวัดแสงก่อนครับ ซึ่งกับกล้องDigital นี่จะง่ายมาก ก็คือคงค่าของช่องรับแสงเอาไว้ก่อน(อย่าลืมว่าขนาดของช่องรับแสงจะเป็นตัวกำ หนดความสว่างและเส้นของพลุ) จากนั้นวัดแสงส่วนสว่างของภาพ แล้วดูว่าจะต้องใช้ความไวชัตเตอร์เท่าไหร่แสงของสถานที่นั้นจะพอดีแล้วจำค่า นั้นไว้ครับ เช่นสมมติว่าเป็น4วินาทีที่f/5.6 เวลาพลุมาก็กดชัตเตอร์ คราวนี้เราต้องกดชัตเตอร์ตามเวลาที่เราวัดได้เมื่อครู่นะครับคือ4วินาที เราจะได้พลุที่มีความยาวของพลุพอสมควร และแสงของฉากหลังที่สว่างพอดี ไม่โอเวอร์หรืออันเดอร์จนเกินไปครับ




ถ้าเป็นกล้องCompact ที่มีแต่โปรแกรมสำเร็จรูป ให้เลือกโปรแกรมที่เป็นแบบถ่ายภาพกลางคืน(มักจะเป็นรูปดาว)นะครับ และต้องสั่งให้ปิดแฟลชด้วย เพราะไม่ช่วยอะไรในภาพเลย และถ้ากล้องยังพอจะปิดระบบAFได้ ให้ปิดเลยครับ เพราะปกติกล้องCompactมี Timelag ค่อนข้างมากอยู่แล้ว หากให้AFทำงานอีก กว่าจะกดชัตเตอร์ลง พลุที่เล็งไว้ก็ดับไปแล้วละครับ


เอาละ พล่ามมาซะนาน ได้เวลาถ่ายพลุซักที

เมื่อพลุในแต่ละชุดเริ่มจุดปังแรกๆ อย่าเพิ่งถ่ายนะครับ ให้สังเกตความสูงก่อนแล้วจัดองค์ประกอบภาพให้ดี จากนั้นเมื่อเริ่มยิงต่อๆไป ก็กดชัตเตอร์ตามที่บอกไว้แล้ว นั่นคือถ้าเอาพลุล้วนๆ ความไวชัตเตอร์ก็ไม่ค่อยวิกฤตินัก แต่ถ้ามีแสงฉากหลังมาเกี่ยวด้วยก็ต้องระวังเรื่องความไวชัตเตอร์สักหน่อยนะค รับ และถ้าหากพลุยิงต่อเนื่องถี่ยิบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆในจุดเดียว(พลุทหารชอบจุดแบบนี้ ) ให้ระวังเรื่องแสงที่จะโอเวอร์เกินไปเนื่องจากความสว่างของพลุซ้ำซ้อนกันด้ว ยครับ

และอาจจะมีลูกเล่นได้อีกหน่อยเช่นการเปิดชัตเตอร์B ค้างเอาไว้เลย แล้วเอาผ้าดำคลุมหน้ากล้องซะ จากนั้นเมื่อพลุยิงก็เอาผ้าดำออกพอพลุหมดก็เอาผ้าดำปิด แล้วอาจจะขยับกล้องทางแนวนอนอีกนิดหรือซูมภาพเข้าออกซักหน่อย พอพลุลูกต่อมาจุดก็เปิดผ้าคลุมใหม่ รับแสง แล้วก็เอาผ้าดำคลุมเมื่อพลุหมด จะได้พลุหลากหลายตำแหน่งในเฟรมมากขึ้น แต่ก็ต้องระวังเพราะว่าเราจะมองภาพในช่องมองภาพไม่เห็นแล้วนะครับ ถ้าเขยิบกล้องมากไปหรือซูมมากไปอาจจะไม่ได้พลุ หรือเขยิบน้อยไปซูมน้อยไปอาจได้พลุซ้อนๆกันจนดูไม่รู้เรื่องก็เป็นได้ ซึ่งการทำแบบนี้กล้องฟิล์มจะได้เปรียบกว่าเนื่องจากไม่เจอปัญหาHot pixel เมื่อเปิดรับแสงนานๆๆๆๆๆอย่างกล้องDigital ครับ




สำหรับกล้อง Compact ที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปให้ลองเรื่องอาการLagขณะที่กดชัตเตอร์ด้วยนะครับว่าน านแค่ไหน จะได้กะจังหวะได้ทันตอนที่พลุเริ่มระเบิด อาจจะต้องกดเร็วกว่ากล้องslr สักหน่อยนะครัยบ อันนี้ต้องลองเองนะ และการกดชัตเตอร์ ถ้ากล้องไม่มีรีโมทให้กดแบบนุ่มนวลหน่อยนะครับ ไม่งั้นเวลาเอานิ้วออกจากชัตเตอร์กล้องจะสั่น ภาพจะสั่นไหวได้ครับ หรือถ้ากล้องสามารถเปิดชัตเตอร์Bได้ นี่ยิ่งต้องระมัดระวังให้ดี อย่ากดแรงจนกล้องสั่นหรือกดเบาจนชัตเตอร์ปิดโดยไม่ได้ตั้งใจนะครับ เพราะฉะนั้น ถ้ามีรีโมท ใช้รีโมทเถิดชื่นใจ


ตกค้าง


--------------------------------------------------------------------------------


ม ีอะไรอีกหว่า อ้อ...กล้องDigitalบางตัวและกล้องฟิล์มบางตัวสามารถถ่ายภาพซ้อนได้ ก็ลองตั้งให้ถ่ายซ้อนดูครับ จะให้ผลเหมือนกับการใช้ผ้าดำ แต่จะจัดองค์ประกอบได้ง่ายกว่าเพราะจะเล็งมุมใหม่ในช่องมองภาพได้แล้ว(สำหรั บกล้องSLR)

--------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณกระทู้ดี ๆ จาก pantip.com นะครับ ผมขอคัดลอกเก็บไว้ เพื่อกันลืม จะได้นำมาทบทวนใหม่ในโอกาสต่อไป :)

ไม่มีความคิดเห็น: