วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549

Free Diving

แวะไปที่ webboard ของ Wahoo มาเลยเจอ Artical ของ อาจารย์เิบิ้มเรื่องเกี่ยวกับ Free Diving ครับ เลยขอ Copy มาแปะไว้เพื่อเก็บไว้อ่าน :)


Freediving

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสไปเรียนฟรีไดวิ่งมาครับ สนุก ตื่นเต้น และน่าสนใจจนอดที่จะเอามาเล่าให้เพื่อนๆ นักดำน้ำแบบสกูบ้าได้รับทราบกันไม่ไหวเลย

อันที่จริง ผมก็ฟรีไดวิ่งมาก่อนที่จะมาดำน้ำแบบสกูบ้านี่อีกนะครับ แต่เป็นไปในลักษณะที่เขาเรียกกันว่า ฟรีไดวิ่งลูกทุ่งน่ะครับ คือไม่รู้อะไรเลย ไม่มีเงินเลย มีหน้ากากกับฟิน (บวกฉมวกยิงปลาอีกอันหนึ่ง) ก็ดำมันไปเรื่อย เวลาไปเที่ยวตามเกาะแก่งต่างๆ หากหาปลาไม่ได้ ก็อด อันนี้ ประมาณสามสิบปีที่ผ่านมาเห็นจะได้นะครับ

ความที่ชอบกีฬาทางน้ำ ฟรีไดวิ่งก็เลยเป็นอะไรที่อยากจะทำให้ได้ดี แต่ในขณะนั้นก็คิดว่าคงทำได้แค่นั้น ความสามารถของเราคงไม่ถึงที่จะพัฒนาให้ทำได้มากกว่าที่ทำได้อยู่ บวกกับในสมัยนั้น การดำน้ำก็เป็นอะไรที่มากเกินกว่าฐานะ (ต่อให้เป็นการดำแบบฟรีไดวิ่งก็เถอะ) เลยไปแข่งว่ายน้ำดีกว่าครับ

ไม่นานมานี้เอง ได้ข่าวจากเพื่อนว่ามีผู้สอนฟรีไดวิ่งจากประเทศฝรั่งเศส จะมาเปิดสอนในประเทศไทยเป็นเวลาประมาณหกเดือน ในหลักสูตรของ AIDA ซึ่งเป็นสถาบันฟรีไดวิ่งชั้นนำของโลก ทำการสอนที่เกาะลันตา ก็เลยรีบติดต่อไปครับ ครั้งแรกก็กังวลนะ ว่าครูจะสื่อสารกับเราได้หรือเปล่า สังขารของเราจะไหวหรือเปล่า จะหนีงานไปเรียนได้ยังไง ฯลฯ. แต่ความอยากมันมีมากกว่าอุปสรรคครับ ก็เลยพยายามไปเรียนจนได้

ลางานไปเพื่อนร่วมงานก็รู้สึกตลกขบขัน (ปนสมเพช) นะครับว่าแก่ขนาดนี้แล้วยังจะซ่าอีก แต่พอดีการเรียนต่อเรื่องกีฬาทุกชนิดมันเป็นวิชาชีพ (เพราะเป็นครูสอนพละ) หัวหน้างานเลยอนุมัติให้ไปได้

ขับรถไปถึงเกาะลันตาตอนบ่ายๆ ครับ ไปนั่งคุยกับครู ดูท่าแล้วครูจะหล่อเกินเหตุไปหน่อย ทำให้รู้สึกสงสัยว่าไอ้พวกนักฟรีไดวิ่งนี่มันต้องสวยหล่อกันแบบนี้หมดถึงจะด ำได้ดีหรือเปล่าหนอ เพราะเห็นในนิตยสารและรายการต่างๆ ก็เป็นอย่างนั้น หากเป็นเช่นนั้น ประเภทอ้วนล่ำดำแก่แบบผมสงสัยจะไม่มีอนาคต แต่หลังจากคุยกับครูแล้วก็อุ่นใจ แกบอกว่าต่อให้แก่และน่าเกลียดแค่ไหนก็พอจะเอาดีได้ครับ

อยากเห็นหน้าครูผมก็เข้าไปในเวบนี้แล้วกัน http://www.freedivecentral.com/f-francisco-gautier-2

เสร็จจากการสมัครเรียน ครูก็ให้งานกลับไปทำเลยครับ แกบอกว่าให้กินให้อิ่มและนอนให้มาก พรุ่งนี้เช้ามาเรียนกันที่ชายหาด ดูแล้วงานก็ง่ายพอสมควรนะครับ ผมก็ไปหาที่พักเพราะไปแบบไม่ได้ติดต่ออะไรเลย ก็หาโรงแรมริมถนนนอนครับ ง่ายๆ สบายดี

รุ่งเช้าก็ไปพบกับครู ทางร้านก็ขับรถไปที่ชายหาดอีกด้านหนึ่ง สวยมากแต่จำชื่อไม่ได้แล้วครับว่าหาดอะไร เริ่มแรกก็เรียนเรื่องการเตรียมพร้อมร่างกายกันเลย ถึงก็เรียนเรื่องการเหยียดยืดกล้ามเนื้อ โยคะเล็กน้อย โดยเฉพาะเรื่องการเหยียดกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นช่วงอกเพื่อให้ปอดสามารถขยายต ัวได้มากขึ้น

จากนั้นก็เรียนเรื่องการหายใจ ก็น่าแปลกใจที่เทคนิคการทำ Hyperventilation แบบที่เรียนมาในหลักสูตรการดำน้ำแบบสกูบ้านั้น นำมาใช้กับฟรีไดวิ่งไม่ได้เด็ดขาด เพราะอาจจะตายไม่รู้ตัว การหายใจแบบนักฟรีไดวิ่งจริงๆ นั้น ต้องใช้วิธีการเอาอากาศเข้าไปให้มากที่สุด และใช้พลังงานอย่างประหยัดที่สุด มากกว่าที่จะหลอกระบบของร่างกายว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์น้อย แล้วจะได้ไม่อยากหายใจ แบบการทำไฮเปอร์เวนทิเลชั่นครับ

แค่เรื่องแรกนี้ ผมก็รู้สึกแล้วครับว่าโชคดีที่ยอมเสียเงินมาเรียน หากไปดำเล่นเองคงไม่รู้เรื่อง


นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความปลอดภัยอื่นๆ ที่ครูสอนให้รู้ก่อนอีกหลายจุด ในการเรียนฟรีได้วิ่งระดับหนึ่งดาวนี่นะครับ

อันดับแรกเลยก็คือไม่ให้ดำน้ำคนเดียวโดยเด็ดขาด ต้องมีบัดดี้ซึ่งจะดำพร้อมเราก็ไม่ได้ด้วยนะครับ ต้องคนหนึ่งดำลงไปขณะที่อีกคนอยู่บนผิวน้ำคอยมองดู เพื่อคอยช่วยเหลือหากเกิดอาการหมดสติเนื่องจากระดับความดันโลหิตต่ำ (อันเกิดจากวิธีการหายใจและการเลื่อนไหลของเลือดในร่างกายของนักดำ) หรือจาก Shallow Water Blackout (SWB)

ครูเน้นเรื่องการจมลอย ว่าต้องให้ตัวลอยนิดๆ บนผิวน้ำ เวลาดำลงไปลึกๆ ตัวจะได้ไม่จมมากเกินไป ถึงแม้ว่าเราต้องการจะให้จมได้บ้างเพื่อประหยัดพลังงานในการเดินทางลงไปในที ่ลึกก็ตามทีครับ แต่วันที่เรียนกันจริงๆ ก็ทำไม่ได้เท่าไรเพราะไม่ได้ใส่เวทสูท เครื่องแบบนักเรียนเป็นกางเกงว่ายน้ำตัวเดียว หน้ากากเดิมๆ (ถึงแม้ต่อไปจะต้องเปลี่ยนให้ Low Volume กว่านี้) ฟินอันเดิม (ซึ่งก็ต้องเปลี่ยนเหมือนกัน แต่ยังไม่มีตังค์) ตัวผมก็เลยจมถึงแม้จะอยู่ที่ผิวน้ำ

น่าแปลกใจเหมือนกันที่ครูบอกว่าสนอร์เกิ้ลนั้นให้ใช้ได้แต่ไม่ให้ติดกับ หน้ากาก ให้ถือเอาไว้แล้วใช้หายใจเตรียมตัวลง เมื่อจะมุดลงน้ำ ให้ส่งสนอร์เกิ้ลให้เพื่อน แล้วก็ดำลงไปไม่ต้องคาบลงไปด้วย เนื่องจากเหตุผลสองประการคือหนึ่ง มันต้านน้ำทำให้ดำลงยากกว่าเดิม การดำน้ำแบบนี้การทำตัวให้ลู่น้ำสำคัญมาก ประการที่สองคือ การคาบสนอร์เกิ้ลขณะฟรีไดวิ่งเป็นสิ่งที่เขาไม่ทำกัน เพราะมันจะทำให้เราอยากหายใจก่อนเวลาครับ

นอกจากนั้น สัญญาณโอเค ที่เราใช้กันก็ใช้ไม่ได้ในการดำน้ำฟรีไดวิ่งนะครับ เขาให้ใช้การพูดเลย เช่นเมื่อนักดำขึ้นมาถึงผิวน้ำใหม่ๆ นี่ เขาให้บัดดี้อยู่ในระยะมือเอื้อมถึง ให้นักดำเกาะทุ่นแล้วหายใจหลายๆ ครั้งจนเป็นปกติแล้วจึงถามว่าโอเคหรือเปล่า หากใช้สัญญาณมือแบบพวกเรา ส่วนมากจะไม่ได้สื่อสารกันจริงๆ เพราะมีหลายคนที่ตอบโอเคเป็นสัญญาณมือแล้วก็หมดสติไปหนึ่งหรือสองวินาทีหลัง จากนั้นครับ

แค่ชั่วโมงแรก ก็มีอะไรใหม่ๆ เยอะแยะไปหมดครับ


หลังจากทำการเตรียมตัวพร้อมทั้งอธิบายเรื่องความปลอดภัยต่างๆ พอสมควร ครูก็ให้ลงน้ำตรงชายหาดนั่นเลยครับ ก่อนลงครูก็ไปจัดสถานที่โดยการเอาเชือกยาวประมาณ 25 เมตรไปขึงไว้ใต้น้ำโดยมีทุ่นตะกั่วถ่วงให้เชือกอยู่ใต้น้ำ ด้านหนึ่งจะเชือกและทุ่นลอยให้จับ ช่วงแรกเราก็ทำการเรียนกันตรงทุ่นลอยนั่นแหละครับ

บทเรียนบทแรกเป็นการทำ Static Apnea คือหัดกลั้นหายใจใต้น้ำนั่นแหละครับ เคยทำมาซะมากแล้ว หารู้ไหมว่าที่เคยทำนั่นไม่ถูกต้องก็เลยทำได้น้อย ครูก็มีเคล็ดลับหลายอย่างที่ได้สอนให้เรียนรู้และจะได้นำไปฝึกต่อได้

เคล็ดต่างๆ ก็มีดังนี้ครับ

อันดับแรกต้องยืดเหยียดท่อยูสเตเชี่ยนซะก่อน เพื่อให้มันยืดตัวและกล้ามเนื้อลำคอผ่อนคลาย จากนั้นต้องยืดเหยียดกล้ามเนื้ออื่นๆ เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายทุกส่วน การผ่อนคลายนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพราะหากไม่ผ่อนคลายแล้ว เราจะใช้ออกซิเจนที่มีอยู่อึกเดียวในปอดมากขึ้น ทำให้กลั้นหายใจได้น้อยลง

อันที่จริง ผมก็หัดเทคนิคการผ่อนคลายมาเยอะแล้วนะครับ แต่เทียบไม่ได้กับการผ่อนคลายในน้ำนี่เลย กลายเป็นเรื่องเรียนรู้ใหม่ ทั้งๆ ที่ผมก็เคยทำหน้าที่ฝึกนักกีฬาให้ผ่อนคลายมาเกือบสิบปี แปลกดีเหมือนกัน นี่ก็เป็นความรู้จากการเรียนฟรีไดวิ่งที่สามารถนำมาใช้กับงานอาชีพได้ทันทีเ ลย

static apnea นี่ก่อนจะเริ่มดำน้ำ ก็ต้องหายใจให้ออกซิเจนเข้าไปเต็มที่ซะก่อน ด้วยการหายใจสามขั้น คือขั้นแรกหายใจด้วยกระบังลม ทำท้องป่องนั่นแหละครับ ปกติคนทั่วไปจะหายในด้วยปอดหรืออกอย่างเดียว ไม่ได้ขยายกระบังลม ทำให้อากาศเข้าไปได้น้อยกว่า การหายใจเพื่อเตรียมพร้อมนี่ จะต้องขยายพื้นที่ด้านล่างของปอด ต้องขยายกระบังลมด้วยการผ่อนคลายท้องช่วงเริ่มหายใจครับ พุงจะป่องออกมามากทีเดียว ขั้นที่สองคือหายใจด้วยปอดหรือหน้าอกตามปกติ และขั้นสุดท้ายให้แบะไหล่ออกจากกันเพื่อเพิ่มพื้นที่ปอดด้านบน จากนั้นก็ทำการ pack เพื่อให้อากาศเข้าไปมากกว่าเดิมอีก ทำท่าเหมือนปลาทองในตู้น่ะครับ อ้างับ อ้างับ จนอากาศเข้าไปไม่ได้แล้ว

จากนั้นให้ค้างไว้สองสามวินาที จึงผ่อนลมหายใจออกช้าๆ โดยมีหลักอยู่ว่า หายใจเข้าเท่าไร ให้ใช้เวลาหายใจออกเป็นสองเท่า

ทำอย่างนี้จนรู้สึกว่าได้รับออกซิเจนเพียงพอแล้ว จึงเริ่มก้มหน้าลอยตัวท่าคว่ำหน้าที่ผิวน้ำครับ

ตอนนี้แหละครับ จะเป็นช่วงที่ทรมาน และหากทนไม่ไหวมีอาการเกร็งหรือไม่ผ่อนคลายนิดเดียว ก็จะทนกลั้นหายใจอยู่ไม่ไหว แต่หากปล่อยให้ผ่อนคลายได้ ซึ่งครูบอกว่ายิ่งอยากหายใจต้องยิ่งผ่อนคลาย ก็จะอยู่ได้นานกว่าเดิม

ผ่อนคลายแล้วต้องเอาใจออกจากเรื่องการหายใจด้วยนะครับ เทคนิคของใครของมัน ครูสอนให้ใช้วิธี Imagery Relaxation ซึ่งผมลองทำดูแล้วไม่ได้ผลมาก คงเป็นเพราะตัวเองไม่เหมาะกับเทคนิคนี้ ที่รู้เพราะเคยฝึกเทคนิคผ่อนคลายมาเกือบทุกอย่างที่มีในโลกนี้เป็นเวลาหลายป ีแล้วน่ะครับ ตอนดำน้ำแบบนี้ผมเลยใช้วิธีฟังเสียงหัวใจตัวเอง ก็เพลินดีนะครับ มันจะเต้นช้าลง ช้าลงไปเรื่อยๆ แต่ไม่หยุดซะทีนะครับ

ใช้เทคนิคนี้ จากการกลั้นหายใจได้ประมาณนาทีกับอีกนิดเดียว ตอนนี้ได้สองนาทีกว่าๆ แล้ว เห็นครูบอกว่ายิ่งฝึกมากก็จะยิ่งได้นานขึ้นเรื่อยๆ เคล็ดอยู่ที่ว่าต้องผ่อนคลายให้ได้เต็มที่นั่นเองครับ

ครูก็ทำการทดสอบว่าเราผ่อนคลายหรือไม่ ด้วยการยกแขนยกขาแล้วปล่อยทิ้งลงมา ดูว่าเรามีแรงต้านหรือเปล่า หรืออาจจะผลัก กด ตัวเราว่าเราเกร็งขืนแรงที่กระทำหรือไม่ คนที่ถูกทดสอบก็จะรู้ตัวและหันไปผ่อนคลายส่วนที่เกร็งนั่นเองครับ

การฝึกแบบนี้ ต้องมีบัดดี้คอยดูแลความปลอดภัยและจับเวลาให้นะครับ การดูแลความปลอดภัยก็จะมีการ "คลิก" คือการบีบนิ้วมือของคนที่ดำเป็นระยะ หากมีการ "คลิก" ตอบก็หมายความว่านักดำน้ำยังมีสติดีอยู่ หากไม่คลิกตอบ ให้คลิกอีกครั้ง ซึ่งหากไม่ได้รับการตอบสนองอีกให้ดึงนักดำน้ำขึ้นมาจากน้ำได้เลย

ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะเคยมีบางคนกลั้นจนหมดสติ จมน้ำตายไปเลยก็มีครับ อันที่จริงคนที่หมดสติน่ะ ช่วงแรกไม่เป็นไรหรอกครับ ต้องถึงช่วงที่ร่างกายเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ จากการที่กระบังลมหดตัว ทำให้ปากหรือจมูกสูดลมเข้าไป ซึ่งในขณะนั้นหากปากหรือจมูกอยู่ใต้น้ำแล้ว ก็รับประกันได้ว่าจมน้ำแน่นอนครับ

จากนั้นจึงไปเริ่มฝึก Dynamic Apnea ครับ

การฝึกไดนามิค ก็คือการว่ายใต้น้ำให้ได้ไกลที่สุดด้วยลมหายใจเพียงอึกเดียว เป็นประเภทหนึ่งของการแข่งชันฟรีไดวิ่งครับ ในประเภทไดนามิคนี้ก็มีสามประเภทย่อยด้วยกัน คือการดำโดยไม่ใช้ฟิน การใช้ไบฟิน (หรือฟินสองดันตามปกติที่เราใช้กันแต่ฟินจะยาวกว่า) หรือโมโนฟิน (ฟินเดี่ยว ใส่เท้าทั้งสองข้างเข้าไป ฟินจะใหญ่มาก ดูคล้ายฟินของนางเงือกในเรื่องพระอภัยมณีครับ)

เห็นว่าสถิติโลกสำหรับการดำแบบนี้ เท้าเปล่าได้ 200 เมตร ส่วนใช้ฟิน (ทั้งสองแบบ) สองร้อยกว่าๆ กว่าเท่าไรจำไม่ได้ครับ

วิธีการหายใจ การเตรียมตัว ก็เหมือนกันกับการดำแบบ สแตติค เพียงแต่ต้องมุดลงด้วยท่า Duck Dive แล้วก็ว่าไปให้ไกล เทคนิคที่สำคัญคือการาทำตัวให้ลู่น้ำมากที่สุด ตีฟินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงจะไปได้ไกลครับ

ผมมานั่งวิเคราะห์แล้วก็พบว่า การเรียนสแตติคกับไดนามิคนี่เอง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการดำลงในที่ลึก และเป็นประโยชน์ที่นักดำน้ำแบบสกูบ้าพึงจะได้อีกด้วย คือเราจะฝึกหายใจอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้ประการหนึ่ง ฝึกผ่อนคลายในน้ำ ปล่อยตัวให้กลมกลืนกับน้ำ อีกประการหนึ่ง และการฝึกทำตัวให้ลู่น้ำมากที่สุดอีกประการหนึ่ง เมื่อฝึกทั้งหมดนี้แล้ว จะพบว่าเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืน และมีความผูกพัน กับน้ำ กับทะเล มากขึ้นกว่าเดิม

กลับมาฝึกเพิ่มเติมภายหลัง ก็พบว่าเราพัฒนาเรื่องเหล่านี้ได้อีกครับ

ที่เกาะลันตาวันนั้น ผมก็ฝึกสแตติคกับไดนามิคทั้งวัน เรียนรู้การใช้เข็มขัดตะกั่วแบบฟรีไดวิ่ง ซึ่งไม่เหมือนกันกับที่เราใช้ตามปกติ คือเข็มขัดตะกั่วฟรีไดวิ่งนี้จะต้องเป็นยางยืดหนาๆ รัดด้านบนของสะโพกให้แน่น เนื่องจากเวลาเราดำลงไปลึกๆ ตัวเราจะหดลง หากไม่ใช้เข็มขัดยางรัดให้แน่นแล้ว เข็มขัดจะเลื่อนไปมาได้ ทำให้เกิดผลเสีย และที่ต้องรัดสะโพก เพราะเราจำเป็นต้องให้ส่วนเอวและท้องไม่มีอะไรมารัด จะทำให้อึดอัดได้ครับ

นี่กำลังจะหายางทำเข็มขัดอยู่ เพื่อนๆ คนไหนทราบที่ซื้อยางลักษณะคล้ายเข็มขัดตะกั่ว หนาสัก 2-3 มม. ช่วยบอกด้วยนะครับ

จากนั้น ก็กลับไปพักผ่อน เพื่อจะออกทะเลไปเกาะห้า ฝึกดำแบบ Constant Weight และ No Limits ต่อไปครับ

วันรุ่งขึ้น ก็ตื่นแต่เช้า ทำการฝึกหายใจและเหยียดยืดกล้ามเนื้อตามที่ครูสอนมา ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเห็นจะได้ ที่สามารถทำได้ก็เพราะครูสั่งห้ามไม่ให้ไปวิ่งตอนเช้าตามปกติที่ผมทำ เพราะมันจะมีผลกับการดำน้ำ ทำให้เราไม่เข้ากับน้ำเท่าที่ควร อะไรทำนองนั้นน่ะครับ ไว้กลับไปหาความรู้เพิ่มเติมแล้วจะมาอธิบายให้ละเอียดกว่านี้นะครับ

เดินทางด้วยเรือไปเกาะห้า ใช้เวลาชั่วโมงกว่าๆ จากเกาะลันตา ทั้งเรือมีแต่ฝรั่ง ลูกทัวร์ประมาณสิบคน สต๊าฟอีกสี่ห้าคนครับ น่าแปลกใจจริงๆ คือ ยกเว้นครูฟรังซัวของผมแล้ว พวกครูสอนดำน้ำฝรั่งทั้งหลาย สูบบุหรี่กับเป็นปล่องควันโรงงานเลย ไดเวอร์ที่มาดำเที่ยวกันไม่มีใครสูบสักคน

นี่ก็เป็นข้อสังเกตที่เห็นว่าแปลกครับ ผู้สอนดำน้ำฝรั่งเกือบทั้งหมดสูบบุหรี่จัด กินเหล้ากินเบียร์กันทุกคืน แล้วก็ไม่ค่อยออกกำลังกาย ทุกที่ครับ พัทยา เกาะเต่า ภูเก็ต

บนเรือเลยฝึกหายใจและผ่อนคลายได้ไม่ดี ชั้นบนก็ควันของพวกผู้สอนดำน้ำ ชั้นล่างก็กัปตันกับลูกเรือ เป็น Smoking Boat กันไปเลย

ถึงเกาะก็ดีใจที่ได้ลงน้ำซะทีครับ ใต้น้ำไม่มีควันบุหรี่แน่ๆ ครูก็เอาเรือยางไปจัดการทำสถานีฝึกกันเลย ตรงข้างๆ เกาะเล็กๆ ด้านซ้ายหากหันหน้าไปทางเกาะห้าเหนือนั่นแหละครับ ความลึกของน้ำประมาณ 18 เมตร

ตรงนั้นครูได้จัดสถานี No Limits ขึ้น ซึ่งการดำแบบนี้จะใช้ Sled ให้เราขี่ลงไป ขาขึ้น ใช้ Lift Bag โดยมีถังอากาศไว้เติมเข้าถุงยกดังกล่าว เราจะพุ่งขึ้นมาด้วยความเร็ว... ไปดำเข้าจริงๆ แล้ว สนุกมากครับ เหมือนฝันเลย

แต่ก่อนจะดำแบบนี้ ต้องหัดดำแบบ Constant Weight ซะก่อน การดำแบบนี้ก็เหมือนกันกับที่เรานึกภาพการฟรีไดวิ่งไว้นั่นเองครับ คือการใส่เข็มขัดตะกั่ว หรือไม่ใส่ก็ได้แล้วแต่คน ช่วงแรกผมก็ไม่ใส่ แต่ระยะหลังก็ใส่ลงไปครับ ที่ไม่ใส่ช่วงแรกเพราะเป็นโรคปอดน่ะครับ (ปอดแหกน่ะครับ)

ดำลงไป ครูบอกว่าวิธีการเคลียร์หูที่ไม่ควรใช้คือวิธีการกลืนน้ำลาย เพราะจะทำให้เราอยากหายใจ และเกิดอาการสะอึกซึ่งเป็นเพราะกระบังลมหดตัว ฟังแล้วมึนตึ้บเลยครับ เพราะเป็นวิธีเดียวที่ผมจะทำได้หากปักหัวลง ถ้าเป็นการลงแบบสกูบ้านี่ วิธีไหนก็ใช้ได้ แต่หากลงแบบปักหัวลงแล้ว มีวิธีเดียวคือกลืนน้ำลายครับ

มุดหัวลงไปได้แค่สองสามเมตร ก็เคลียร์ไม่ออกแล้ว ติดสนิทเลยครับ ทำให้เข้าใจนักเรียนสกูบ้าที่เคลียร์หูไม่ได้ขึ้นอีกเยอะเลย อืม... ต่อไปนี้ต้องปลอบใจนักเรียนเราให้มากกว่านี้ซะแล้ว

กลับขึ้นมา ครูบอกให้ลองสาวเชือกลงไปด้วยท่าหัวตั้งตามปกติ จะได้เคลียร์หูได้ ลองทำดูก็ง่ายดีครับ ลงไปได้สิบกว่าเมตร ไม่มีปัญหาอะไรเลย สักพักก็พยายามปักหัวลงใหม่ ผลออกมาเหมือนเดิม ได้แค่สองสามเมตรหากไม่กลืนน้ำลาย

นี่ละน้า... พวกรูปไม่หล่อมาดำฟรีไดวิ่ง ท่าทางจะเอาดีไม่ได้ซะแล้ว

ครูก็ให้ลองพยายามต่อไปเรื่อยๆ ดำลงไปอีกหลายครั้ง ผลก็ยังเหมือนเดิม คือหากไม่ใช้วิธีกลืนน้ำลายแล้ว จะไม่สามารถลงไปได้เลย

แต่ก่อนนี้ผมก็เคยดำลึกสิบกว่าเมตรมาแล้วด้วยการเคลียร์หูแบบกลืนนะครับ เพียงแต่กลืนไปได้สองสามครั้ง จะรู้สึกอยากหายใจมากจนกระบังลมเกิดอาการกระตุก ทำให้ต้องรีบขึ้น แล้วก็จะเกิดอาการไม่สบาย ไม่ผ่อนคลาย หรือบางทีก็กลัวเลย ทำให้ไม่กล้าดำลึกกว่าสิบเอ็ด สิบสองเมตร มาตลอดเวลาที่ผ่านมา

ครั้งนี้ไปเรียน ผลออกมาแย่กว่าเดิม ไม่ผ่านห้าเมตรด้วยซ้ำหากใช้วิธี Valsava ปกติโดยไม่กลืนน้ำลาย

ครูเห็นว่าไม่ได้เรื่องแน่แล้ว ก็พาไปนั่งบนเรือยาง แล้วก็ให้ยืดกล้ามเนื้อคอเพื่อยืดท่อยูสเตเชี่ยนนั่นแหละครับ แล้วก็แนะนำว่า ให้ลองดำลงแต่ก้มหน้าขึ้นมามองที่ผิวน้ำ หรือมองครูนั่นแหละครับ ท่าทางการดำน้ำจะไม่ตัวตรง เงยหน้า เหมือนที่เคย แต่จะกลายเป็นก้มหน้ามองไม่เห็นทางข้างหน้าไป

ปรากฏว่าได้ผลครับ เคลียร์หูออกสบายกว่าเดิมเยอะ ลงไปได้สิบห้าเมตร ลึกที่สุดที่เคยทำได้มา ถึงแม้ว่าจะต้องกลืนในช่วงเมตรที่สิบห้าก็ตามทีครับ แต่ยังมีอาการที่ไม่ควรจะเป็นอีกก็คือกระบังลมกระตุก ซึ่งครูอธิบายว่าเป็นเพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นมาทำให้ปฎิกิริยาตอบส นองของร่างกายแสดงออกมา จุดมุ่งหมายเพื่อให้หายใจนั่นเองครับ เพียงแต่ปฎิกิริยานี้บนบกก็คือไม่มีปัญหาอะไร แต่ใต้น้ำจะทำให้เราหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอดเท่านั้น

ครูบอกว่าเป็นเพราะตอนดำลงไปเราเกร็ง ไม่ผ่อนคลายเท่าที่ควร ทำให้กระบังลมกระตุก และทำให้เราสร้างคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าที่ควรจะเป็น ฉะนั้น เมื่อเคลียร์หูพอได้แล้ว ก็ให้ลองดำด้วยความผ่อนคลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกระบังลมเกิดอาการกระตุก ให้ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นไปอีก เวลาขึ้นจะรู้สึกดีขึ้นครับ

ก็ลองฝึกหัดดู กว่าจะทำให้ก็นาน บางที ครูถึงกับต้องดำตามลงไป ทำท่าเตือนให้ผ่อนคลาย ถึงจะทำได้ครับ

พอทำได้แล้วทีนี้ เวลาดำน้ำมันรู้สึกดีมากๆ เลยครับ เหมือนกับภาพในฝัน โดยเฉพาะเวลาที่เราขึ้น ตีฟินเบาๆ ตัวก็พุ่งทะยานขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยความเร็ว ร่างกายทุกส่วน กล้ามเนื้อทุกมัด ผ่อนคลาย ยากที่จะบรรยายให้รับทราบได้ง่ายๆ ครับ

ที่ว่าชอบๆ การดำน้ำแบบฟรีไดวิ่งอยู่มาตั้งแต่เด็กแล้วนี่ วินาทีหลังจากนั้นมา กลายเป็นหลงใหลเสียแล้วละครับ

ตอนนี้ ผมเริ่มเข้าใจหนังสือที่อ่านมาก่อนหน้านี้แล้วครับ เขาว่าการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่งนี่ ความลึกไม่ใช่เรื่องสำคัญ ความลึกที่ทำได้เป็นผลจากการแสดงความสามารถด้านอื่นๆ เช่นการปรับสมดุลย์ การผ่อนคลาย การหายใจ ฯลฯ. หากเราทำทุกอย่างได้สมบูรณ์แล้ว ความลึกจะเพิ่มขึ้นเอง

ซึ่งมันก็ไม่ได้ทำง่ายๆ นะครับ การปรับสมดุลย์ให้ได้ดีขณะที่ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน ตีฟินขึ้นมาจากความลึกที่น่ากลัวเหลือเกินว่าจะไปไม่ถึงผิวน้ำแล้วยังต้องบั งคับให้ใจนิ่ง กายผ่อนคลายอีกด้วยนี่ เป็นเรื่องไม่ง่ายจริงๆ ครับ แต่ตอนไหนที่ทำได้ ความรู้สึกจะยอดเยี่ยมมากๆ ครับ

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำหลังจากทำความลึกได้ดังประสง ค์ไว้นั้น คล้ายๆ กับเวลาที่อยู่บนวินด์เซิร์ฟขณะที่กินลมเต็มที่ เรือเพลนและวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดที่สามารถจะทำได้นั่นแหละครับ เหมือนกับอยู่บนยอดของโลก ทั้งๆ ที่อยู่ใต้ระดับน้ำทะเลเลยครับ เวลาตอนนี้นั้น เมื่อก่อนที่จะมาเรียน เป็นเวลาที่จะกลัวมาก กลัวว่าจะไปไม่ถึง จะสำลักน้ำ จะหมดลมซะก่อน แต่พอเรียนไปแล้ว กลายเป็นเวลาที่ดีที่สุดไป

ถึงตรงนี้ ที่เคยคิดว่าว่าจะมาเรียนเล่นๆ กลับกลายเป็นว่าจะต้องจบสี่ดาวให้ได้ภายในเดือนเมษาฯ หน้าก่อนที่ครูจะกลับฝรั่งเศสซะแล้วครับ

ถึงตอนนี้ เริ่มนึกถึงฟินฟรีไดวิ่งกับหน้ากากแล้วละครับ เพราะหน้ากากที่เหมาะจะทำให้เคลียร์ง่าย ส่วนฟินฟรีไดวิ่ง จะทำให้เราออกแรงได้ผลมากแต่ใช้พลังงานน้อย เวลาขึ้น จะทำให้ใช้ออกซิเจนที่มีเหลืออยู่น้อยกว่าฟินธรรมดาครับ เท่าที่ทราบ ไม่มีขายในเมืองไทย ต้องหาหรือสั่งจากต่างประเทศ แย่หน่อยครับ

หลังจากฝึกแบบ Constant Weight ไปได้ครึ่งวัน ก็กลับไปพักบนเรือเพื่อย้ายหมายไปที่เกาะห้าใหญ่ หน้าถ้ำใหญ่นั่นแหละครับ ครูไปตั้งสถานีเพื่อฝึก No Limits กันตรงที่ลึกประมาณ 20 เมตรครับ

ครูบอกว่าคราวนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนะครับ ที่มีการใช้ Diving Sled สำหรับฟรีไดวิ่งกัน อันที่จริง อุปกรณ์นี้ครูก็ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ไม่ได้ซื้อมาหรอกนะครับ เจ้าตัว Sled นี้เป็นท่อที่ร้อยเชือกที่เราใช้ดำน้ำธรรมดาทั่วไปนี่แหละครับ ท่อนี้จะเชื่อมเหล็กให้เป็นที่นั่ง ที่ถ่วงน้ำหนัก ที่ล้อคถังอากาศและถุงลมเอาไว้ โดยจะมีคันโยกเพื่อปลดล้อคเชือกเวลาต้องการดำลงไป เมื่อจะหยุด ก็กดคันโยก หรือไปหยุดที่ความลึกสูงสุดที่มีแท่นปูนกั้นไว้ เมื่อจะขึ้น ก็เปิดลมจากถังอากาศออกไปเข้าถุงยก ถุงก็จะยกเราขึ้นด้วยความเร็วสูงมากครับ

ดำแบบนี้ง่ายกว่าปักหัวลงเยอะ แค่นั่งผ่อนคลายแล้วเคลียร์หูให้ทัน ลงไปยี่สิบเมตรง่ายมากๆ ครับ ยิ่งเวลาขึ้น ยิ่งสนุกเข้าไปใหญ่

แต่ความรู้สึกซาบซึ้งกับการดำน้ำสู้แบบ Constant Weight ไม่ได้ครับ เหมือนเล่นวินด์เซิร์ฟ กับเล่นเจ็ตสกีนั่นแหละครับ โลดแล่นไปบนผิวน้ำเหมือนกัน แต่ลึกซึ้งต่างกันเยอะ

เล่นกับ Sled นี่พักใหญ่ ก็เก็บอุปกรณ์กลับเข้าฝั่งครับ ยังไม่หายสนุกเลยต้องเลิกซะแล้ว จบหลักสูตรการดำน้ำแบบฟรีไดวิ่งระดับหนึ่งดาวเพียงแค่นี้ครับ ครูบอกให้กลับไปฝึกฝนร่างกาย และฝึกดำน้ำฟรีไดวิ่งให้ดี เตรียมตัวก่อนมาเรียนระดับสูงต่อไปครับ

สรุปว่าในหลักสูตรนี้ ผมทำสแตติคได้หนึ่งนาทีสี่สิบวินาที ไดนามิคได้ห้าสิบเมตร คอนสแตนท์เวทได้สิบห้าเมตร และโนลิมิตได้ยี่สิบเมตร

ไม่น่าเชื่อว่ากลับมาฝึกซ้อมที่สัตหีบเพียงไม่กี่วัน จะมีการพัฒนาขึ้นเร็วกว่าที่คิดไว้ครับ

น การพัฒนาการก็เพิ่มขึ้นครับ คงเป็นเพราะฝึกแล้วรู้จักวิธีการผ่อนคลายในน้ำมากกว่าเดิม ทำให้สามารถกลั้นหายใจได้ง่ายขึ้น มีหลายครั้งที่ไปได้ถึงสองนาทีนิดๆ ตอนนั้นจะรู้สึกว่าไม่นาน เริ่มจะเข้าใจว่าคนที่ทำได้นานๆ คงจะผ่อนคลายมากจึงจะทำได้ครับ

ส่วนการดำแบบคอนแสตนเวทนั้น ค่อยๆ เพิ่มความลึกทีละนิด ซึ่งก็พอทำได้โดยเฉพาะเวลาที่สามารถผ่อนคลายได้ดีๆ ความลึกจะเพิ่มขึ้นเองครับ ตอนที่ผ่อนคลายได้ไม่ดีนั้น จะมีปัญหาเรื่องการเคลียร์หู ทำให้เกร็งมากขึ้น และลงไปลึกไม่ได้ แต่ตอนไหนที่ผ่อนคลายสบายๆ จะเคลียร์หูง่าย และลงไปได้ลึกขึ้นเรื่อยๆ ความกล้าที่จะลงลึกโดยไม่กลัวว่าจะขึ้นไม่ถึงก็จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ (ถึงแม้ยังปอดแหกอยู่ก็ตามนะครับ)

สรุปว่าการไปเรียนฟรีไดวิ่งนี่ ทำให้รู้สึกลึกซึ้งกับการดำน้ำมากขึ้นเยอะเลยครับ รวมถึงว่ารู้สึกว่าได้ศึกษาตัวตนและจิตใจของเราเองโดยใช้ความลึกเป็นสื่อได้ เป็นอย่างดี ในความเห็นของผม ผมคิดว่าการไปเรียนครั้งนี้คุ้มค่ามากๆ อยากให้เพื่อนๆ ที่สนใจต้องลองไปทำดูด้วยตนเองครับ

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนฟรีไดวิ่งที่ให้ผลโดยตรงกับการดำน้ำแบบสกูบ้า
1. ผ่อนคลายในน้ำมากขึ้น ดำน้ำสบายกว่าเดิม
2. หายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประหยัดอากาศเห็นได้ชัด
3. มั่นใจมากกว่าเดิมเวลาอยู่ใต้น้ำ
4. รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของทะเล แทนที่จะเอาชนะธรรมชาติด้วยอุปกรณ์
5. สนุกมากขึ้น ไม่รู้เพราะอะไร


คงต้องจบเรื่องการของไปเรียนฟรีไดวิ่งเบื้องต้นแต่เพียงเท่านี้นะครับ เอาไว้ไปเรียนในขั้นสูงต่อไปแล้วจะมาเขียนให้อ่านกันอีก

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจและพอจะหาเวลาได้ ผมแนะนำว่าต้องลองนะครับ สำหรับผมเองไปเรียนมาแล้วก็ดีใจที่ได้ไปครับ นึกถึงกลอนบทหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า

ชีวิตคือการเดินทางไปข้างหน้า
ดังสำเภานาวาจากตลิ่ง
เวิ้งทะเลกว้างไกลไร้หลักอิง
จะจอดเรือหลบนิ่งกำบังลม

สลาตันปั่นป่วนคำรามคลื่น
ลมอุกาโครมครืนมาขู่ข่ม
เพียงนายท้ายอ่อนไหวใจระทม
เรือชีวิตคงล่มอัปปางไป

ไม่ออกเรือแล้วเมื่อไรจะได้รู้
ว่าคลื่นร้ายลมอู้เป็นไฉน
ไม่ขึ้นภูแล้วจะรู้ได้อย่างไร
ว่าโลกนี้กว้างใหญ่ละลานตา

(คุณไพฑูรย์ ธัญญา ผู้ประพันธ์)

From: Marlin
Date: 11/12/06 - 11:35 PM

เตรียมตัวไปถ่ายพลุ

อ้างอิงจาก กระทู้ Pantip.com (http://www.pantip.com/cafe/camera/topic/O4437753/O4437753.html) โดยคุณเล็กครับ


ถ่ายพลุแบบสบายๆ
เ รามาเตรียมตัวกันให้พร้อมเพื่อการถ่ายพลุกันเถอะนะค รับ การถ่ายพลุนั้นจะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย(เอ๊ะยังไง ) เพียงแต่ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสักหน่อย สิ่งที่จะต้องใช้อย่างน้อยที่สุดก็คือ


1. กล้องถ่ายรูป(แหงแซะ)
2. ขาตั้งกล้อง


แต่ถ้ามีอุปกรณ์เพิ่มอีกสักหน่อยก็จะสะดวกขึ้นก็คือ
3. สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทคอนโทรล
4. ผ้าดำ
5. ไฟฉายเล็กๆ
6. พัดลมแบบใช้ถ่าน เอาไว้แก้ร้อน(แฮ่ๆ)
7. เก้าอี้พับ เผื่อถ่ายกันเป็นแถวๆ เราอยู่แถวหน้าจะได้ปรับขาเตี้ยๆหน่อยแล้วนั่งถ่ายพลุเลย สบาย อิอิ


การเตรียมตัวก่อนเริ่มถ่าย

1. ปรับWhite balance ให้เป็นแบบ Daylight ก่อน หรือจะเปลี่ยนเป็นแบบอื่นๆก็ได้ แต่จะให้สีของพลุและสีของสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกับที่ตาเห็นนักนะครับ


2. ปรับเลนส์ไปที่ระยะInfinity(โดยมองในช่องมองให้ภาพชัดด้วยนะครับ) และปิดระบบหาโฟกัสอัตโนมัติของกล้อง เพราะคุณคงไม่อยากให้กล้องเสียเวลาไปโฟกัสพลุทุกครั้งแน่นอนใช่ไหมครับ


3. ปรับค่าISOให้อยู่ที่ค่าต่ำๆหน่อย อย่าใช้ที่ISOสูงๆหรือใช้ฟิล์มความไวแสงสูงๆครับ เพราะเกรนและนอยซ์จะมาเยี่ยมเยือนเอาง่ายๆ


4. ตั้งระบบการเปิดรับแสงไปที่Manual(ถ้ามี) ครับ


5. ถ้ากล้องที่เราใช้มีระบบNR จะเปิดไว้ก็ได้นะครับ แต่ต้องระวังนิดหนึ่งเพราะระบบNR จะเพิ่มเวลาในการเขียนไฟล์มากกว่าปกติ อาจจะเจอปัญหาเรื่องdelayเวลาถ่ายต่อเนื่องมากๆได้นะครับ ถ้ากล้องที่ใช้เป็นกล้องที่Noiseต่ำๆนี่ ปิดได้ครับ(ผมก็ปิด อิอิ)


6. ยึดกล้องเข้ากับขาตั้งกล้องให้แข็งแรงแน่นหนา และเล็งจัดระดับกล้องให้ตรง(ถ้าขาตั้งใครมีระดับน้ำได้จะวิเศษมาก) ไม่งั้นรูปที่ออกมาเส้นขอบฟ้าเอียงเท่ากันหมดทุกรูป ต้องมานั่งCropภาพกันให้วุ่นวายอีก


7.เสียบสายลั่นชัตเตอร์(ถ้ามี) หรือปรับกล้องไปที่remote control ไม่งั้นเวลาพลุมา กดรีโมทเท่าไหร่ๆก็ไม่ถ่ายซักที เอิ๊ก


การวัดแสง

การถ่ายภาพพลุนั้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพพลุอย่างเดียวโดยไม่มีอย่างอื่นมาปะปนด้วย ให้จำไว้ว่า ขนาดของช่องรับแสงจะเป็นตัวกำหนดความสว่างและเส้นของพลุ ความไวชัตเตอร์จะเป็นตัวกำหนดความสั้นยาวของพลุ ถ้าใช้ช่องรับแสงกว้างๆ พลุที่ได้จะเส้นใหญ่ สว่าง สีซีดและไม่คมนัก แต่ถ้าใช้ช่องรับแสงแคบๆ พลุที่ได้จะเส้นเล็ก คม สีเข้มแต่ไม่สว่างเท่าไหร่


โดยทั่วๆไปแล้ว สำหรับISO 100 ให้เลือกที่5.6หรือ8ครับ จะเห็นว่าไม่ต้องวัดแสงเลย พลุมาปุ๊บกดชัตเตอร์Bปั๊บ พอพลุหมดแสงก็ปลดชัตเตอร์เท่านั้นเอง ง่ายๆ ถ้าอยากให้พลุเส้นยาวๆก็กดชัตเตอร์นานหน่อยตั้งแต่พลุดอกนั้นเริ่มยิง(เห็นเ ส้นลอยขึ้นไปในอากาศก่อนแตกตัว) รอจนแตกตัวหมดแล้วก็ปลดชัตเตอร์ หรือจะกดช่วงสั้นๆเพื่อให้เส้นไม่ยาวมากก็ได้ครับ ตามใจเราเลยอันนี้


แ ต่ถ้าเราต้องการถ่ายพลุร่วมกับสถานที่ด้วย คราวนี้ต้องวัดแสงก่อนครับ ซึ่งกับกล้องDigital นี่จะง่ายมาก ก็คือคงค่าของช่องรับแสงเอาไว้ก่อน(อย่าลืมว่าขนาดของช่องรับแสงจะเป็นตัวกำ หนดความสว่างและเส้นของพลุ) จากนั้นวัดแสงส่วนสว่างของภาพ แล้วดูว่าจะต้องใช้ความไวชัตเตอร์เท่าไหร่แสงของสถานที่นั้นจะพอดีแล้วจำค่า นั้นไว้ครับ เช่นสมมติว่าเป็น4วินาทีที่f/5.6 เวลาพลุมาก็กดชัตเตอร์ คราวนี้เราต้องกดชัตเตอร์ตามเวลาที่เราวัดได้เมื่อครู่นะครับคือ4วินาที เราจะได้พลุที่มีความยาวของพลุพอสมควร และแสงของฉากหลังที่สว่างพอดี ไม่โอเวอร์หรืออันเดอร์จนเกินไปครับ




ถ้าเป็นกล้องCompact ที่มีแต่โปรแกรมสำเร็จรูป ให้เลือกโปรแกรมที่เป็นแบบถ่ายภาพกลางคืน(มักจะเป็นรูปดาว)นะครับ และต้องสั่งให้ปิดแฟลชด้วย เพราะไม่ช่วยอะไรในภาพเลย และถ้ากล้องยังพอจะปิดระบบAFได้ ให้ปิดเลยครับ เพราะปกติกล้องCompactมี Timelag ค่อนข้างมากอยู่แล้ว หากให้AFทำงานอีก กว่าจะกดชัตเตอร์ลง พลุที่เล็งไว้ก็ดับไปแล้วละครับ


เอาละ พล่ามมาซะนาน ได้เวลาถ่ายพลุซักที

เมื่อพลุในแต่ละชุดเริ่มจุดปังแรกๆ อย่าเพิ่งถ่ายนะครับ ให้สังเกตความสูงก่อนแล้วจัดองค์ประกอบภาพให้ดี จากนั้นเมื่อเริ่มยิงต่อๆไป ก็กดชัตเตอร์ตามที่บอกไว้แล้ว นั่นคือถ้าเอาพลุล้วนๆ ความไวชัตเตอร์ก็ไม่ค่อยวิกฤตินัก แต่ถ้ามีแสงฉากหลังมาเกี่ยวด้วยก็ต้องระวังเรื่องความไวชัตเตอร์สักหน่อยนะค รับ และถ้าหากพลุยิงต่อเนื่องถี่ยิบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆในจุดเดียว(พลุทหารชอบจุดแบบนี้ ) ให้ระวังเรื่องแสงที่จะโอเวอร์เกินไปเนื่องจากความสว่างของพลุซ้ำซ้อนกันด้ว ยครับ

และอาจจะมีลูกเล่นได้อีกหน่อยเช่นการเปิดชัตเตอร์B ค้างเอาไว้เลย แล้วเอาผ้าดำคลุมหน้ากล้องซะ จากนั้นเมื่อพลุยิงก็เอาผ้าดำออกพอพลุหมดก็เอาผ้าดำปิด แล้วอาจจะขยับกล้องทางแนวนอนอีกนิดหรือซูมภาพเข้าออกซักหน่อย พอพลุลูกต่อมาจุดก็เปิดผ้าคลุมใหม่ รับแสง แล้วก็เอาผ้าดำคลุมเมื่อพลุหมด จะได้พลุหลากหลายตำแหน่งในเฟรมมากขึ้น แต่ก็ต้องระวังเพราะว่าเราจะมองภาพในช่องมองภาพไม่เห็นแล้วนะครับ ถ้าเขยิบกล้องมากไปหรือซูมมากไปอาจจะไม่ได้พลุ หรือเขยิบน้อยไปซูมน้อยไปอาจได้พลุซ้อนๆกันจนดูไม่รู้เรื่องก็เป็นได้ ซึ่งการทำแบบนี้กล้องฟิล์มจะได้เปรียบกว่าเนื่องจากไม่เจอปัญหาHot pixel เมื่อเปิดรับแสงนานๆๆๆๆๆอย่างกล้องDigital ครับ




สำหรับกล้อง Compact ที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปให้ลองเรื่องอาการLagขณะที่กดชัตเตอร์ด้วยนะครับว่าน านแค่ไหน จะได้กะจังหวะได้ทันตอนที่พลุเริ่มระเบิด อาจจะต้องกดเร็วกว่ากล้องslr สักหน่อยนะครัยบ อันนี้ต้องลองเองนะ และการกดชัตเตอร์ ถ้ากล้องไม่มีรีโมทให้กดแบบนุ่มนวลหน่อยนะครับ ไม่งั้นเวลาเอานิ้วออกจากชัตเตอร์กล้องจะสั่น ภาพจะสั่นไหวได้ครับ หรือถ้ากล้องสามารถเปิดชัตเตอร์Bได้ นี่ยิ่งต้องระมัดระวังให้ดี อย่ากดแรงจนกล้องสั่นหรือกดเบาจนชัตเตอร์ปิดโดยไม่ได้ตั้งใจนะครับ เพราะฉะนั้น ถ้ามีรีโมท ใช้รีโมทเถิดชื่นใจ


ตกค้าง


--------------------------------------------------------------------------------


ม ีอะไรอีกหว่า อ้อ...กล้องDigitalบางตัวและกล้องฟิล์มบางตัวสามารถถ่ายภาพซ้อนได้ ก็ลองตั้งให้ถ่ายซ้อนดูครับ จะให้ผลเหมือนกับการใช้ผ้าดำ แต่จะจัดองค์ประกอบได้ง่ายกว่าเพราะจะเล็งมุมใหม่ในช่องมองภาพได้แล้ว(สำหรั บกล้องSLR)

--------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณกระทู้ดี ๆ จาก pantip.com นะครับ ผมขอคัดลอกเก็บไว้ เพื่อกันลืม จะได้นำมาทบทวนใหม่ในโอกาสต่อไป :)